อาการเพ้อของคนแก่ (Delirium) ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

อาการเห็นภาพหลอนในผู้สูงอายุ

ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยมักเกิดจากการที่คนแก่นอนโรงพยาบาล นอนติดเตียงเป็นเวลานานหรือหลังการพักฟื้นที่โรงพยาบาล มักมีอาการที่แสดงออกไม่แน่นอน ความอันตรายของภาวะนี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า อาการหลงลืมแย่ลง และเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่ายขึ้น

อาการเพ้อ delirium คืออะไร?

Delirium (ภาวะเพ้อ) อาการคนแก่พูดไม่รู้เรื่อง เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ที่ผิดปกติ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาทางสมองที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

delirium (ภาวะเพ้อ) อาการเป็นอย่างไร?

  • การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสมาธิและการตื่นตัว ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการสมาธิสั้น ง่ายต่อการถูกรบกวน และไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้นาน บางครั้งอาจมีอาการคนแก่พูดคนเดียว
  • ความสับสนต่างๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่สามารถแยกแยะวันเวลา สถานที่ หรือบุคคลได้อย่างถูกต้อง
  • การเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกและการรับรู้ต่างๆ ทำให้อาจมีอาการเห็นภาพหลอนในผู้สูงอายุ คนแก่เห็นภาพหลอน หลงลืม หรือความคิดผิดเพี้ยนได้
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรม ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการกระวนกระวายหรือเซื่องซึม ไม่สามารถทำกิจกรรมปกติได้

การเปลี่ยนแปลงในด้านการนอน ทำให้อาจมีอาการคนแก่เพ้อไม่นอน หรือนอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป และมักตื่นตัวในเวลากลางคืน

หญิงสูงอายุมีอาการเครียดและวิตกกังวล

สาเหตุของ delirium อาการเพ้อในผู้สูงอายุ

  • การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในระบบปัสสาวะหรือปอด
  • ยาและสารเสพติด ผลข้างเคียงของยา การใช้สารเสพติดหรือการถอนยา ส่งผลโดยตรงให้คนแก่เห็นภาพหลอนได้
  • ความไม่สมดุลของร่างกาย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล
  • โรคทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการชัก การขาดน้ำหรือภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ มักทำให้มีอาการเห็นภาพหลอนในผู้สูงอายุ
  • ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ  เช่น ภาวะออกซิเจนต่ำ

อาการเพ้อ delirium รักษาอย่างไร?

อาการพูดคนเดียวของคนแก่ หรือที่เรียกกันว่าอาการเพ้อสามารถรักษาเบื้องต้นด้วยวิธีการดังนี้

1.การรักษาที่ต้นเหตุของ delirium อาการเพ้อ เช่น การรักษาการติดเชื้อ การปรับปรุงสมดุลทางร่างกาย หรือการหยุดยาต่างๆ

2.การสนับสนุนทางการแพทย์ (Medical Support) การให้สารน้ำและสารอาหาร รวมไปถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในการหายใจจะช่วยรักษาอาการเพ้อของคนแก่ให้ดีขึ้นได้

3.การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและปลอดภัย รวมไปถึงการสนับสนุนจากครอบครัวและผู้ดูแล

4.การใช้ยา (Medication) ในบางกรณี อาจมีการใช้ยาต้านอาการเพ้อหรือยาระงับประสาทเพื่อควบคุมอาการ

วิธีการป้องกันอาการเพ้อในผู้สูงอายุ

แนวทางการดูแลและป้องกันภาวะอาการเพ้อของคนแก่ สามารถทำได้ดังนี้

1. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมระหว่างวันด้วยตนเอง

การให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองมากขึ้น เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ตักอาหารรับประทานเอง เพื่อกระตุ้นสมองและร่างกายของผู้ป่วยให้ได้ทำงานมากขึ้น จะช่วยป้องกันอาการเพ้อของคนแก่ได้

2. จัดการดูแลการรับประทานยาของผู้สูงอายุให้เหมาะสม

การปรับปรุงและดูแลเรื่องยาที่ผู้สูงอายุรับประทานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับยาหลายชนิดและมากจนเกินไป อาจทำให้ภาวะของสมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้มีอาการเห็นภาพหลอนในผู้สูงอายุตามมา

3. การรับประทานอาหาร

เรื่องอาหารเป็นอีกปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการป้องกันอาการเพ้อของคนแก่ ลูกหลานต้องดูแลให้ผู้สูงวัยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะกับวัย สารอาหารดังกล่าวจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและบำรุงระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมไปถึงระบบประสาทให้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

4. ดูแลเรื่องการมองเห็นและการได้ยินของผู้สูงอายุ

หากผู้สูงอายุมีปัญหาในเรื่องความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินที่ถดถอยลง ให้ท่านสวมแว่นสายตาและเครื่องช่วยฟังที่ช่วยโดยตรง เพราะจะทำให้มองเห็นและได้ยินดีขึ้น ทำให้สามารถรับรู้เหตุการณ์รอบตัวได้มากขึ้น

5. ส่งเสริมและกระตุ้นผู้สูงอายุเรื่องการจำวันและเวลา

ควรช่วยผู้สูงอายุในการจดจำวันและเวลาต่างๆ เช่น จัดตารางกิจวัตรประจำวันให้ผู้สูงอายุทำเป็นปกติ ไม่ควรเปลี่ยนแปลงกิจกรรมบ่อย เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความสับสน

ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน

วิธีการเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางในการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากผู้สูงอายุท่านใดมีความเสี่ยง หรือมีอาการที่น่าสงสัยที่เข้าข่าย delirium อาการเพ้อและมีภาวะสับสน และเพื่อเป็นการป้องกันอาการเพ้อของคนแก่ตั้งแต่เนิ่นๆ บุตรหลานหรือคนในครอบครัวควรรีบพาท่านไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางรักษาที่ถูกต้องต่อไป

Ref : https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=418

https://healthathome.in.th/blog/ภาวะสับสนในผู้สูงอายุ

https://srinagarind.md.kku.ac.th/post/25

https://rukkhunhealth.com/blog/how-to-deal-with-delirium