ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ที่มีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับสูงถึง 50% ซึ่งการที่ผู้สูงอายุนอนไม่หลับมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพทั่วไปของพวกเขาเป็นอย่างมาก
สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
สาเหตุของการที่คนแก่นอนไม่หลับ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม ดังนี้
1. ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดจากความชรา
เมื่อร่างกายเริ่มแก่ตัวลง ผู้สูงอายุนอนไม่หลับมักเกิดจากการที่สมองและอวัยวะในร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการนอนหลับเปลี่ยนไปด้วย
2. โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน
โรคบางอย่างในกลุ่มผู้สูงอายุอาจส่งผลทำให้ผู้สูงอายุต้องตื่นขึ้นมากลางดึกได้ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต หรือโรคเบาหวาน ที่ส่งผลทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลายๆ ครั้ง และเมื่อจะหลับต่อก็ทำให้นอนหลับสนิทได้ยาก จนเกิดเป็นปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
3. การรับประทานยาบางชนิด
การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุอาจเกิดจากยาที่จำเป็นต้องรับประทาน ซึ่งมีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง เช่น ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาไทรอยด์ ยาแก้ชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาสเตียรอยด์ ยารักษาภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น
4. ปัญหาทางสุขภาพจิต
ผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีความเครียด ความกังวล รู้สึกเศร้า และคิดมาก รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
5. โรคสมองเสื่อม
คนแก่ที่เริ่มมีภาวะของโรคสมองเสื่อมในระยะแรกมักมีปัญหาไม่ยอมนอนหรือนอนไม่หลับอยู่เป็นประจำ ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีอาการในระยะแรกจนถึงระยะปานกลาง จะมีปัญหาในเรื่องการนอนมากถึงร้อยละ 25 จนเกิดเป็นปัญหาทำให้คนแก่นอนไม่หลับได้
6. พฤติกรรมการใช้ชีวิต
ผู้สูงอายุบางรายมักชอบนอนตอนกลางวัน เนื่องจากไม่มีกิจกรรมให้ทำ หรือไม่ต้องออกไปข้างนอกเหมือนเมื่อก่อน ทำให้เวลาในการนอนไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับในตอนกลางคืน รวมไปถึงพฤติกรรมการกินต่างๆ ที่ทำให้คนแก่นอนไม่หลับ ซึ่งมักกินอะไรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอนนั่นเอง เช่น การดื่มชา กาแฟ ที่อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับได้
ผลกระทบเมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้หลายด้าน ดังนี้
1.ด้านร่างกาย
- อ่อนเพลีย ง่วงนอนในเวลากลางวัน
- ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
- ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน
2.ด้านจิตใจ
- หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
- ความจำและสมาธิแย่ลง
- วิตกกังวล ซึมเศร้า
- หลงลืมง่าย
3.ด้านสังคม
- การเข้าสังคมลดลง
- ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง
- ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
4.ด้านคุณภาพชีวิต
- คุณภาพการนอนแย่ลง
- รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน
- หมดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ
- ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ
- ความสุขในชีวิตน้อยลง
จากผลกระทบต่างๆ ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการนอนไม่หลับในกลุ่มคนที่มีอายุมากเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด เพราะทุกข้อเสียที่ตามมาล้วนส่งผลกระทบแทบในทุกด้านของชีวิต หากร้ายแรงอาจถึงขั้นเป็นปัญหาสุขภาพที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
วิธีแก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุ หรือเมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับมีการพยาบาลอย่างไร หากคุณมีคำถามสงสัยเหล่านี้และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- จัดสภาพแวดล้อมของห้องนอนให้เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ในช่วงเวลาเย็น และถ้ามีปัญหาปัสสาวะเวลากลางคืนบ่อยๆ ไม่ควรดื่มน้ำในช่วงเวลา 4-5 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเข้านอน
- หากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวในช่วงเวลากลางวัน และออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างการรับรู้ว่าเป็นช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้เกิดการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางคืน
- งดการนอนกลางวัน หรือจำกัดเวลาการนอนกลางวัน ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย
- การใช้ยานอนหลับ เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่สามารถทำได้ แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- รับประทานวิตามินสําหรับผู้สูงอายุเพื่อแก้ปัญหานอนไม่หลับ หรือวิตามินช่วยนอนหลับสำหรับผู้สูงอายุ เช่น วิตามินบี 6 เมลาโทนิน แอลธีอะนิน เป็นต้น
- หากมีความวิตกกังวลหรือเครียด ให้จัดการปัญหาในเรื่องนั้น รวมไปถึงผู้ดูแลควรทำความเข้าใจและให้กำลังใจ เมื่อไม่มีความวิตกกังวลก็จะสามารถนอนหลับได้ในที่สุด
- ใช้วิธีอื่นๆ เช่น การนวดผ่อนคลาย การฝังเข็ม การทำสมาธิหรือโยคะก่อนนอน
การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่สามารถจัดการได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนหลับ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นและส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยรวม
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/นอนไม่หลับผู้สูงวัย