เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการทำงานต่าง ๆ ยอมเสื่อมถอยลง ไม่ว่าจะเป็นกระดูกและข้อต่าง ๆ ที่เริ่มเปราะบางและมีอาการปวด กล้ามเนื้อที่ตึงไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดขาตามมา รวมทั้งระบบประสาทและสมองที่เริ่มถดถอยลง ทำให้ไม่สามารถตอบสนองได้ไวเหมือนแต่ก่อน และเคลื่อนไหวได้ช้าลง บางคนอาจมีโรคประจำตัวที่เพิ่มเข้ามา การ ออกกำลังกายในผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นเราไปดูกันว่ามีความสำคัญอย่างไร ประโยชน์ของ การออกกำลังกายผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงใน การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ ที่เหมาะสม และท่ากายบริหารผู้สูงอายุ ไปอ่านกันได้เลยค่ะ
ความสำคัญของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากมีอัตราการเกิดใหม่น้อยลง คนไม่ค่อยนิยมแต่งงานหรือมีลูก ประชากรส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้สูงอายุมากขึ้นในปัจจุบัน คาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ดังนั้นการให้บริการทางด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในอนาคตอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัว โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม รักษาสุขภาวะทางด้านจิตใจให้ดี และออกกำลังกายผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้ผู้สูงอายุแข็งแรงสมวัยและมีความสุขได้ในช่วงท้ายของชีวิต
ประโยชน์ของการออกกำลังกายผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุออกกำลังกายนั้นมีข้อดีและประโยชน์หลายอย่าง ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งประโยชน์ของการออกกำลังผู้สูงอายุมีดังต่อไปนี้
- ช่วยให้ทรงตัวดีขึ้น การออกกำลังกายในผู้สูงอายุช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและแข็งแรง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นได้
- ช่วยป้องกันโรคได้ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ หรือแม้แต่คนที่มีโรคประจำตัว ก็สามารถทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้เช่นกัน
- ช่วยชะลอความเสื่อม การออกกำลังกายผู้สูงอายุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานของร่างกายได้ และยังช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายในผู้สูงอายุยังช่วยลดและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ทำให้น้ำหนักตัวไม่มากเกินไป ลดอาการปวดเข่า และทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
- ส่งผลดีต่อจิตใจ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยรวมให้ดีขึ้นได้ ซึ่งส่งผลต่อจิตใจให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายของผู้สูงอายุมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงและต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุไม่ได้แข็งแรงเหมือนคนหนุ่มคนสาว ซึ่งมีข้อต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
- ก่อนออกกำลังกายผู้สูงอายุต้องมีการตรวจหาโรคก่อน เพื่อประเมินความแข็งแรงของร่างกาย และให้บุคลากรทางการแพทย์แนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม
- ก่อนออกกำลังกายผู้สูงอายุควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
- ควรมีคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงร่วมในการออกกำลังกายอย่างน้อยด้วย 1 คน เพื่อความปลอดภัยหรือป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และสามารถช่วยเหลือยามบาดเจ็บได้
- ผู้สูงอายุออกกำลังกายควรเลือกกิจกรรมที่ชื่นชอบ และสามารถทำติดต่อกันได้อย่างน้อย 10-15 นาที
- การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรเริ่มจากสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก่อน เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้ ให้เพิ่มเป็น 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะจะหักโหมเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
- ผู้สูงอายุออกกำลังกายควรเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม พอดี กระชับ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มได้
- การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุควรเลือกกิจกรรมที่ไม่มีแรงกระแทก ไม่ใช่แรงปะทะ หรือใช้ความสัมพันธ์ของระบบประสาทสูง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรเล่นกีฬายกน้ำหนัก
- เมื่อผู้สูงอายุออกกำลังกายควรหลีกเลี่ยงหากมีอาการดังนี้ เวียนศีรษะ เจ็บแน่นหน้าอก จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ หายใจลำบาก มีความดันโลหิตสูงขณะออกกำลังกาย หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จ และสภาพแวดล้อมหรือภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม
กิจกรรมการออกกําลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
กิจกรรมการออกกําลังกายที่เหมาะสมกับบุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปคือ กิจกรรมที่เบา ๆ ไม่มีแรงกระแทกหรือแรงปะทะ ไม่ต้องใช้แรงมาก ซึ่งเหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยมีด้วยกันดังนี้
- เดินและวิ่งช้า ๆ ผู้สูงอายุออกกำลังกายควรเริ่มจากเดินก่อนแล้วค่อยวิ่งช้า ๆ หากมีอาการปวดข้อเข่าไม่ควรวิ่ง และควรสวมรองเท้าที่กระชับ เพื่อป้องกันการหกล้ม
- ขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า ทั้งยังช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอีกด้วย
- ว่ายน้ำ เป็นอีกหนึ่งการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า เพราะน้ำช่วยดูดซับแรงกระแทกได้ดี และยังช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ฝึกการหายใจอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ว่ายน้ำไม่ได้ ก็สามารถออกกำลังกายโดยการเดินในน้ำได้เช่นกัน
- โยคะ เป็นการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่ช่วยฝึกความมั่นคงแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ฝึกกายหายใจ การทำสมาธิ และการทรงตัว แต่อาจจะต้องมีครูฝึกเพื่อความถูกต้องของท่าต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บระหว่างเล่นโยคะ
- รำมวยจีน เป็นการออกกำลังกายในผู้สูงอายุอีกแขนงหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะเหมาะกับผู้สูงอายุ ช่วยฝึกการหายใจ ความแข็งแรงมั่นคงของร่างกาย
กายบริหาร กายบริหารผู้สูงอายุสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน หรือในสวนสาธารณะทั่วไป ซึ่งมีท่าต่าง ๆ ให้ฝึกมากมาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยในการทรงตัว
6 ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ
กายบริหารผู้สูงอายุนั้นมีหลายท่า หัวใจหลักคือทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทรงตัวและเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรามี 6 ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อบริหารกล้ามเนื้อมาแนะนำกัน ดังนี้
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้อขา โดยการเดินหรือยืน
- ฝึกยืดกล้ามเนื้อ โดยการนอนยกขาสลับกันไปมา
- ฝึกนั่งเก้าอี้ที่มีพนังผิง เหยียดเข่าตรง กระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อป้องกันข้อเข่าเสื่อม
- ฝึกยืดเหยียดแขน เพื่อป้องกันหัวไหล่ติด
- ฝึกรับส่งลูกบอล เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนแข็งแรง และยังช่วยส่งเสริมระบบประสาท
- ฝึกความสมดุลของร่างกาย โดยการนั่งทรงตัวบนลูกบอลยักษ์
10 ท่าออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่ทำง่าย ๆ ได้เองที่บ้าน
- บริหารนิ้วมือ
เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุง่าย ๆ ด้วยการยกมือขึ้นระดับหน้าอก จากนั้นกำนิ้วมือแล้วแบออกให้เต็มที่ กำแล้วแบสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเริ่มรู้สึกเมื่อย ทำทั้งสองข้าง ช่วยป้องกันนิ้วล็อคได้
- ดันกำแพง
เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน ด้วยการยืนห่างจากกำแพงประมาณ 90 ซม. กางขาออกเล็กน้อย วางมือบนกำแพง ความสูงเท่ากับไหล่ เอนตัวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ จนอกเกือบชิดกำแพง แล้วค้างไว้สักครู่ จากนั้นให้ดันตัวออก โดยให้ข้อศอกและแขนเหยียดตรง ทำประมาณ 15-20 ครั้ง ช่วยเรื่องการทรงตัวและเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายส่วนบนได้
- ยืดกล้ามเนื้อแขน
เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหดตัวและโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการยืนตรงกางขาออกเล็กน้อย เหยียดแขนข้างหนึ่งขึ้นให้ตรงเหนือศีรษะ อีกข้างท้าวเอวไว้ จากนั้นขยับร่างกายส่วนบนเอียงไปฝั่งที่ท้าวเอว ค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาที ทำอีกข้างเหมือนกันสลับไปมาเช็ตละ 10 ครั้ง ทำวันละประมาณ 2-3 เซ็ต
- กำมือแล้วหมุน
เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ด้วยการยืนตรงกางขาออกเล็กน้อย แล้วยื่นแขนขวาออกไปด้านหน้าความสูงระดับหน้าอก จากนั้นกำมือแล้วหมุนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา จากนั้นให้ทำเหมือนกันกับแขนซ้าย
- สควตกับเก้าอี้
เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและสะโพก ด้วยการยืนหันหลังให้เก้าอี้ที่มีพนักพิง ขามั่นคงแข็งแรง แยกขาออกเล็กน้อย จากนั้นย่อตัวลงโดยที่หน้าอกตรงและสะโพกยื่นไปด้านหลัง โดยไม่ให้เข่ายื่นมาเกินปลายเท้า เมื่อก้นแตะบนเก้าอี้ให้ร่างกายส่วนบนยื่นไปด้านหน้าเล็กน้อย ค้างไว้สักครู่และลุกขึ้นทำใหม่ประมาณ 10-15 ครั้ง
- สร้างสมดุล
ทำโดยการยืนขาเดียวและอีกข้างให้ยกส้นเท้าขึ้น ให้ฝ่าเท้าอยู่เหนือหัวเข่า พนมมือขึ้นหรือวางมือในตำแหน่งที่สบาย ค้างไว้ประมาณ 1 นาที ทำอีกข้างสลับไปมาประมาณ 10 ครั้ง ท่ากายบริหารผู้สูงอายุนี้ช่วยสร้างสมดุลของร่างกาย และช่วยฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง
- ยกเข่าบิดตัว
ทำโดยการยืนตัวตรงและกางขาออกเล็กน้อย ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นให้ขนานไปกับไหล่ พับแขนให้ตั้งฉากขึ้น กำมือแล้วบิดไปทางซ้าย พร้อมยกเข่าซ้ายให้สูงในระดับสะโพก ทำสลับข้างกันไปมาประมาณ 8 ครั้ง เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของแขน ขา และสะโพก
- ยืดกล้ามเนื้อสะโพก
ทำโดยการนอนหงายและงอเข่าขึ้นข้างหนึ่ง สอดมือใต้เข่าข้างที่ยกขึ้น จากนั้นดึงขาเข้าหาหน้าอก ค้างไว้ประมาณ 10-20 วินาที ทำสลับข้างละประมาณ 10 ครั้ง เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยยืดกล้ามเนื้อสะโพก และช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
- เตะขาไปด้านข้าง
ทำโดยการนอนตะแคง ให้แขนและข้อศอกข้างหนึ่งอยู่บนพื้น มืออีกข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้า ขาทั้งสองข้างชิดกันและเหยียดตรง ยกขาข้างซ้ายขึ้นค้างไว้ประมาณ 20 วินาที จากนั้นค่อย ๆ เอาลง ทำข้างละ 10 ครั้งสลับกัน เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ขา และสะโพก ช่วยให้เดินได้คล่องตัวมากขึ้น
- ยกขาไปด้านหลัง
ทำโดยการยืนหลังเก้าอี้ วางมือบนพนักพิง จากนั้นทิ้งน้ำหนักไปที่เท้าขวา และยกขาซ้ายไปด้านหลังให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำสลับข้างกันไปมาประมาณ 10 ครั้ง เป็นท่ากายบริหารผู้สูงอายุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของสะโพกและหลังส่วนล่าง
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สร้างสมดุลให้ร่างกาย ช่วยให้ทรงตัวและเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันโรคต่าง ๆ ทำให้มีสุขภาพดี และยังช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายอีกด้วย ซึ่งหากผู้สูงอายุออกกำลังกายก็ควรที่จะมีคนไปเป็นเพื่อนด้วย เพื่อความปลอดภัย และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว ความแข็งแรงของร่างกาย สถานที่ สภาพแวดล้อม แต่หากไม่สะดวกที่จะออกไปข้างนอกก็สามารถทำท่ากายบริหารผู้สูงอายุง่าย ๆ ภายในบ้านได้เช่นกัน ซึ่งควรทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้สูงอายุนั่นเอง