ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและสามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อาการและภาวะแทรกซ้อนเกิดได้จากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและทราบถึงวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบร้ายแรงตามมา ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน คืออะไร?
ภาวะแทรกซ้อน หรือโรคแทรกซ้อน (Complication) คือ ปัญหาหรืออาการที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากภาวะหรือโรคที่มีอยู่เดิม โดยมักจะทำให้สถานการณ์สุขภาพของผู้ป่วยย่ำแย่ลง ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การรักษาที่ไม่เหมาะสม การติดเชื้อ หรือการไม่สามารถจัดการกับโรคหรือภาวะที่มีอยู่เดิมได้อย่างถูกต้อง
การรับมือกับภาวะแทรกซ้อนอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่รุนแรงตามมา
ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง
เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือตนเองได้มากนัก รวมถึงมีข้อจำกัดทางด้านการเคลื่อนไหวต่างๆ จึงทำให้ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการแทรกซ้อนหรือภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งโรคแทรกซ้อนหรือภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียงที่พบจากงานวิจัยส่วนใหญ่ มีดังนี้
- แผลกดทับ (pressure ulcers) : เกิดจากการกดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังขาดเลือดและตายได้
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections) : โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากการสวนปัสสาวะหรือการใส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน
- การติดเชื้อทางเดินหายใจ (respiratory tract infections) : เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเข้าไปในระบบทางเดินหายใจจนเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจหรือการดูดเสมหะ
- ลิ่มเลือดอุดตัน (deep vein thrombosis) : เกิดจากการที่ลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือการนอนนานๆ ในผู้ป่วยติดเตียง
- ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness) : เกิดจากการที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง
- ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) : เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ทำให้กระดูกบางลงและเปราะง่าย
- ภาวะซึมเศร้า (depression) : เกิดจากการที่ผู้ป่วยต้องอยู่ติดเตียงเป็นเวลานาน ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและหดหู่ จึงก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ
- ภาวะวิตกกังวล (anxiety) : เกิดจากการที่ผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและอนาคตของตนเองในด้านการใช้ชีวิต
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สิ่งสำคัญของผู้ดูแลที่จะต้องเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้
วิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง
ภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงนอกจากการพยาบาลรักษาดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธีแล้วนั้น การทราบถึงแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจตามมาในภายหลังก็นับว่าเป็นเรื่องที่ควรทราบเช่นเดียวกัน ซึ่งมีแนวทางและวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อนง่ายๆ ดังนี้
1.การพลิกตัวผู้ป่วยเป็นประจำ
- พลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างแผลกดทับ
- ใช้หมอนหรือผ้าห่มม้วนรองรับร่างกายของผู้ป่วยในท่าต่างๆ เพื่อลดแรงกดทับ
2.การทำความสะอาดแผลกดทับ
- ทำความสะอาดแผลกดทับด้วยน้ำเกลือหรือสบู่เหลวอ่อนๆ
- ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด
- เปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวันหรือบ่อยกว่านั้นหากแผลเริ่มเปียกชื้น
3.การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อจำเป็น
- ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ เช่น ไข้, หนาวสั่น, หรือแผลมีหนอง
- ให้ยาผู้ป่วยตามคำสั่งของแพทย์และปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
4.ให้กำลังใจและสนับสนุนทางอารมณ์แก่ผู้ป่วย
- พูดคุยกับผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อให้กำลังใจและรับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย
- หากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ป่วยสนใจ เช่น การอ่านหนังสือ, ฟังเพลง, หรือดูโทรทัศน์
- ช่วยให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและคนรอบข้าง
5.การป้องกันการติดเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะ
- ให้ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำในปริมาณมากๆ
- ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำหรือขับถ่ายตรงเวลา
- ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศของผู้ป่วยเป็นประจำ
6.การป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ
- หมั่นล้างมือ และรักษาความสะอาดบ่อยๆ
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วย
- ทำความสะอาดเครื่องช่วยหายใจและสายดูดเสมหะเป็นประจำ
7.การป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน
- ให้ผู้ป่วยสวมถุงน่องทางการแพทย์เพื่อลดการเกิดลิ่มเลือด
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่สามารถทำได้
- ให้ยาละลายลิ่มเลือดเมื่อจำเป็น
8.การป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ช่วยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายกล้ามเนื้อเป็นประจำ
- ให้ผู้ป่วยนั่งหรือยืนเท่าที่สามารถทำได้
9.การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
- ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
- ช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การเดินเบาๆโดยไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป
- ให้ยาหรืออาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดีเมื่อจำเป็น
หากคุณเป็น 1 ในคนที่ห่วงใยคนที่คุณรักซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคแทรกซ้อนหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง สิ่งสำคัญมากที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษามากยิ่งขึ้นก็คือการดูแลด้วยความใส่ใจ ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถแน่นอน และนอกจากการทราบถึงวิธีการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนแล้ว การเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลผู้ป่วย ก็ถือว่าจำเป็นเช่นเดียวกัน Topcares ร้านขายอุปกรณ์ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ที่มีทั้งเตียงไฟฟ้า ที่นอนที่ช่วยลดแผลกดทับ และของใช้ผู้ป่วยติดเตียงอื่นๆ ให้คุณได้เลือกซื้อตามความต้องการ เราพร้อมที่จะเป็น 1 ในคนที่ช่วยดูแลคนที่คุณรักไปด้วยกัน
Ref : https://modernformhealthcare.co.th/complications-of-bedridden-patients/