ทำความรู้จัก Stretcher ทำไมถึงจำเป็นในทางการแพทย์

เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินประจำรถพยาบาล
Table of Contents

ปัจจุบันอุปกรณ์ทางการแพทย์ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ได้มีเพียงแต่ Stretcher เท่านั้น เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวกสำหรับการรักษาพยาบาลและใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัย, รักษา, หรือดูแลผู้ป่วยในระบบการดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจมีการใช้งานทั้งในโรงพยาบาล, คลินิก, หรือในบ้านของผู้ป่วย เพื่อช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินประจำรถพยาบาล

เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Stretcher) คืออะไร ?

เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือ Stretcher คือเตียงที่ไว้ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งในสถานพยาบาลและนอกสถานพยาบาล โดยปกติเตียง Stretcher เราจะพบเห็นได้บ่อยที่ท้ายรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะอุปกรณ์นี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังสูงในการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉินหรือการส่งต่อไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์อื่น ๆ

ลักษณะของเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

โดยปกติแล้วเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะมีลักษณะเป็นเตียงแบนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายโดยเฉพาะ เตียง Stretcher เป็นโครงเหล็กที่คลุมด้วยผ้าใบหรือวัสดุอื่นซึ่งมีหลากหลายประเภท สามารถพับหรือยืดออกให้ยาวขึ้น เพื่อให้สามารถพกพาหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ง่ายและปลอดภัยมากที่สุดในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล, สถานที่เกิดอุบัติเหตุ, หรือสถานที่อื่น ๆ ที่ต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเร่งด่วน และสตรีทเชอร์มักมีล้อเพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายอีกด้วย

Stretcher มีกี่ประเภท เลือกใช้แบบไหนถึงเหมาะกับสถานการณ์

Stretcher ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แต่ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ จึงถูกออกแบบมาหลากหลายประเภท ซึ่งมีหลัก ๆ ที่มักจะใช้งานและพบเห็นกันอยู่บ่อย ดังนี้

1. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปรับระดับมือหมุน (Rotating Bed)

เป็นเตียงที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปรับระดับและทิศทางได้หลากหลาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้นในการนอนหรือในการรักษาโรค โดยเฉพาะเวลาที่มีความจำเป็นต้องทำการรักษาหรือเฝ้าระวังผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนหรือท่านั่งบางท่าที่สำคัญ ซึ่งเตียงแบบปรับระดับมือหมุนมักมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • สามารถปรับระดับได้ทั้งระดับที่เป็นเตียงแนวนอนและระดับที่สูงขึ้น 
  • สามารถปรับทิศทางในการหมุนได้ เพื่อให้ผู้ดูแลหรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าใกล้ผู้ป่วยได้อย่างสะดวกสบาย
  • เหมาะกับการใช้งานสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลหรือการรักษาพิเศษ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะที่ต้องการการกายภาพบำบัด และมีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ 
  • การใช้งานเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปรับระดับมือหมุนช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายในการนอนและการรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น 
  • เตียงมีราคาค่อนข้างถูก เนื่องจากไม่ต้องใช้ระบบไฟฟ้าในการทำงาน

2. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไฮโดรลิค (Hydraulic Patient Transfer Bed)

เตียงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างสะดวกและปลอดภัยโดยใช้ระบบไฮโดรลิค โดยระบบไฮโดรลิคนี้ใช้น้ำหรือของเหลวในการสร้างแรงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีกระบวนการทำงานคือ เมื่อสร้างแรงดันในระบบไฮโดรลิค น้ำหรือของเหลวจะไหลเข้าสู่กระบวนการเคลื่อนที่ในเตียงเพื่อทำให้เตียงเคลื่อนย้ายไปมาได้ โดยเตียงแบบไฮโดรลิคมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้

  • สามารถปรับระดับสูงต่ำของเตียงเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขึ้นลงเตียงได้ง่ายขึ้น 
  • Stretcher ประเภทนี้เหมาะกับคนที่เน้นการใช้งานง่ายและสะดวก เพราะสามารถปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ 
  • มีระบบควบคุมที่สะดวกต่อการใช้งาน ระบบเบรคเพื่อความปลอดภัย และระบบปรับระดับสูงต่ำของเตียง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Patient Transfer Bed)

มักใช้เป็นเตียงฉุกเฉินประจํารถพยาบาลโดย Stretcher ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเร่งด่วน เพื่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มักมีลักษณะและคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • เน้นความสะดวกสบายและการใช้งานที่ง่าย
  • ช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีความสะดวกสบาย
  • มีล้อที่สามารถหมุนได้เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้าย 
  • มีระบบปรับระดับสูงต่ำของเตียง เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถขึ้นลงเตียงได้ง่ายขึ้น 
  • มีอุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น ราวกั้นเตียงกันตก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอีกเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอีก 2 ประเภทที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานพยาบาลแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับการใช้งานส่วนตัว ได้แก่

  • Stretcher แบบมือถือ : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุด โดยมักจะมีโครงสร้างเบา และมีจุดจับเพื่อให้ง่ายต่อการยกและเคลื่อนย้ายโดยบุคคล
  • Stretcher แบบล้อ : มีล้อเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย บางรุ่นมีระบบเบรกและระบบปรับระดับความสูง

ประโยชน์สำคัญของ Stretcher

นอกจากเตียงเคลื่อนย้ายจะมีหน้าที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยตามชื่อแล้ว ยังมีประโยชน์ในทางการแพทย์อีกหลากหลายด้าน ได้แก่

  • การเคลื่อนย้ายที่สะดวกสบาย : ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ทำให้สภาพการเจ็บปวดมีการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายหรืออาการเสียหายอื่น ๆ ขณะการย้ายผู้ป่วย
  • การเข้าถึงที่ง่าย : เตียงเคลื่อนย้าย Stretcher ผู้ป่วยสามารถช่วยให้ทีมแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล
  • การขนย้ายที่มีประสิทธิภาพ : ด้วยล้อและการออกแบบที่เหมาะสม ช่วยให้การขนย้ายผู้ป่วยไปยังพื้นที่รักษาหรือรถพยาบาลทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  •  ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย : การใช้ Stretcher ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บปวดระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจมีความเร่งด่วน
  • การให้บริการทางการแพทย์ : เป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพหรือการส่งต่อไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
การเคลื่อนย้ายคนไข้ด้วยสตรีชเชอร์ในโรงพยาบาล

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบนเตียงเบื้องต้นที่ควรรู้

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบนเตียงเบื้องต้นเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัย โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปฏิบัติตามขั้นตอนเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

 1. ตรวจสอบสภาพเตียงก่อนเริ่มต้นเคลื่อนย้าย

ก่อนที่จะเริ่มต้นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรตรวจสอบสภาพเตียงโดยรอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการชำรุดใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางขณะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

2. ตรวจเช็กอาการของผู้ป่วยก่อนเคลื่อนย้าย

หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายหรือมีอาการอื่น ๆ ควรให้ความระมัดระวังก่อนที่จะเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการเจ็บปวดหรือปัญหาอาการบาดเจ็บเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นขณะเคลื่อนย้าย

3. ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้าย

ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้าย ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายอื่น ๆ เช่น ผ้าห่มเคลื่อนย้ายหรือเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

4. ประสานงานกับผู้ช่วยให้มีความรู้ในด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

หากมีการใช้บุคคลอื่นเพื่อช่วยเหลือในกระบวนการเคลื่อนย้าย ควรประสานงานและให้คำแนะนำที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะการเคลื่อนย้าย

5. เริ่มต้นการเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการประคองผู้ป่วยอย่างระมัดระวังและเริ่มเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เข้าสู่ทิศทางที่ต้องการโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น การทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนหรือการยกขึ้นลงอย่างระมัดระวัง

6. ตรวจสอบอาการหลังการเคลื่อนย้าย

เมื่อผู้ป่วยได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ ควรตรวจสอบอาการหลังการเคลื่อนย้ายให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติหรืออาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ เกิดขึ้น ควรใช้วิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

หน่วยกู้ภัยเคลื่อนย้ายเด็กชายที่บาดเจ็บด้วยเตียงเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน

Stretcher มีความสำคัญในทางการแพทย์อย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับผู้ดูแลที่ต้องอาศัยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอยู่เป็นประจำซึ่งมักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยติดเตียงเป็นส่วนใหญ่ หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยติดเตียง TOPCARES ร้านขายอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ตอบโจทย์และพร้อมเป็นทางเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลผู้ป่วยให้กับคุณ

Ref : https://modernformhealthcare.co.th/what-is-stretcher/

https://modernformhealthcare.co.th/how-to-move-bedridden-patient/

https://modernformhealthcare.co.th/what-is-an-emergency-patient-transfer-bed/