แผลกดทับ (Pressure sores) เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับบริเวณผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเป็นเวลานาน หากเกิดขึ้นจำเป็นต้องทำการรักษาแผลกดทับทันที เนื่องจากการกดทับจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณนั้นๆ ลดลง ส่งผลให้เนื้อเยื่อตายและเกิดแผล ทั้งยังเกิดโอกาสเสี่ยงลุกลามจนอาจทำให้สูญเสียอวัยวะสำคัญต่างๆ ได้และอาจนำไปสู่ขั้นร้ายแรงอย่างการเสียชีวิตได้
- ใครบ้างเสี่ยงต้องรักษาแผลกดทับ?
- 1. ผู้ป่วยติดเตียง
- 2. ผู้สูงอายุ
- 3. ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
- 4. ผู้ที่ใช้เก้าอี้รถเข็น
- 5. ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี
- 6. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือด
- 7. ผู้ที่มีภาวะการควบคุมระบบประสาทบกพร่อง
- 8. ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
- 9. ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- 10. ผู้ที่มีผิวหนังและเนื้อเยื่อบอบบางกว่าปกติ
- วิธีการรักษาแผลกดทับในผู้ป่วย
ใครบ้างเสี่ยงต้องรักษาแผลกดทับ?
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากที่สุดมักเป็นกลุ่มคนที่มีการเคลื่อนไหวน้อยหรือมีภาวะทางสุขภาพที่ทำให้ต้องนอนหรืออยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลเหล่านี้ที่มีความเสี่ยงที่ต้องรักษาแผลกดทับ
1. ผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ที่ต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานานส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องรักษาแผลกดทับอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจาก ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามต้องการ เช่น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น
2. ผู้สูงอายุ
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุจะมีการเคลื่อนไหวที่ลดน้อยลงหรือช้าลงอันเนื่องมาจากสมรรถภาพทางร่างกายที่ถดถอยลง ทั้งยังมีผิวหนังที่บางลงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่ายมากขึ้น
3. ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
ผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหวต่างๆ ผู้ที่มีภาวะอัมพาต หรือโรคที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ยาก เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) เป็นต้น
4. ผู้ที่ใช้เก้าอี้รถเข็น
ผู้ป่วยที่บาดเจ็บหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดินได้ เมื่อจำเป็นต้องนั่งในเก้าอี้รถเข็นเป็นระยะเวลานานๆ จึงเสี่ยงต่อการทำแผลกดทับให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการกดทับบริเวณก้นและหลัง
5. ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี
ผู้ที่ขาดสารอาหารหรือมีภาวะโภชนาการไม่ดี จะส่งผลให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อขาดสารอาหารและไม่แข็งแรง เมื่อจำเป็นต้องนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะแผลกดทับได้นั่นเอง
6. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือด
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดส่วนใหญ่ล้วนจำเป็นต้องรักษาแผลกดทับควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไม่ดีที่เกิดจากผลข้างเคียงของโรค ทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพและแผลหายช้ายากกว่าปกติ
7. ผู้ที่มีภาวะการควบคุมระบบประสาทบกพร่อง
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น การสูญเสียความรู้สึกบริเวณผิวหนัง ทำให้ร่างกายไม่รู้สึกถึงแรงกดทับเมื่อนั่งหรืออยู่ในอริยาบถเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน จึงไม่สามารถขยับตัวเพื่อเปลี่ยนท่าได้
8. ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่สามารถรับรู้และจัดการกับความไม่สบายตัวหรือการกดทับของร่างกายได้เอง มักเกิดในวัยสูงอายุที่มีความจำถดถอยลงอันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
9. ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออยู่ในภาวะอ้วน 1 ในกลุ่มเสี่ยงที่จำเป็นต้องรักษาแผลกดทับ เนื่องจากร่างกายมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อนั่งหรือนอนจะทำให้มีแรงกดทับมากขึ้นในบริเวณที่ต้องรองรับน้ำหนักเป็นระยะเวลานาน
10. ผู้ที่มีผิวหนังและเนื้อเยื่อบอบบางกว่าปกติ
ผู้ที่มีผิวหนังบอบบางด้วยการรักษาหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังอ่อนแอและบางลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย
การดูแลและรักษาแผลกดทับในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นให้แก่กลุ่มบุคคลเหล่านี้

วิธีการรักษาแผลกดทับในผู้ป่วย
การรักษาแผลกดทับจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลุกลามที่มากขึ้นกว่าเดิม หากรักษาอย่างถูกต้องก็จะทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีรักษาแผลกดทับระยะแรกไปจนถึงระยะอื่นๆ มีวิธีการหลายขั้นตอน ดังนี้
1. การทำความสะอาดแผล
- ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
- การตัดหรือขูดเนื้อเยื่อที่ตายออกจากแผล เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและกระตุ้นการสมานแผล
2. การใช้ยาทาภายนอก
- ใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาไอโอดีนหรือยาแอนติเซปติก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ใช้ยารักษาแผลกดทับชนิดทาที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและการสมานแผล หรือมีสูตรรักษาแผลกดทับ เช่น สารสกัดจากสาหร่ายทะเล รวมไปถึงครีมทาแผลกดทับ ยารักษาแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
3. การใช้ผ้าพันแผลหรือแผ่นปิดแผล
- ใช้ผ้าพันแผลที่ช่วยดูดซับของเหลวและป้องกันการติดเชื้อ
- การใช้แผ่นปิดแผลที่ช่วยรักษาแผลให้มีความชื้นพอเหมาะ จะให้แผลหายเร็วขึ้น
4. การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- หากแผลมีการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
- ใช้ยาแก้อักเสบหรือยาลดบวมตามคำแนะนำของแพทย์
5. การใช้เทคโนโลยีช่วยรักษา
- การรักษาแผลโดยวิธีสุญญากาศ (Negative Pressure Wound Therapy – NPWT) จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและเร่งการหายของแผล
- การใช้เลเซอร์หรือแสงบำบัดจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและลดการอักเสบของแผล
6. การดูแลทั่วไป
- เปลี่ยนท่าผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อกระจายแรงกดทับและลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเพิ่มขึ้น
- ใช้เบาะรองรับหรือที่นอนที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น ที่นอนยางพารา ที่นอนโฟม หรือที่นอนสลับแรงดัน
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เช่น การอาบน้ำ และหมั่นทำความสะอาดผิวหนังที่เป็นแผลบ่อยๆ
ให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่เพียงพอ เพื่อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อและรักษาสภาพผิวหนังให้หายเร็วขึ้น
7. การติดตามผลและปรึกษาแพทย์
- ติดตามการหายของแผลอย่างสม่ำเสมอ และหากมีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ทันที
- ผู้ดูแลและครอบครัวควรได้รับการฝึกอบรมในการดูแลแผลกดทับ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
การรักษาแผลกดทับต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ดูแลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผลหายเร็วและลดโอกาสการเกิดแผลใหม่ในอนาคต อันเป็นการส่งเสริมช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะทางสุขภาพที่ดีขึ้นและลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา
Ref : https://www.bangkokhospital.com/content/pressure-ulcers
https://www.fascino.co.th/article/post/how-to-treat-bedsores-at-home
https://www.phyathai.com/th/article/3815-แผลกดทับ_กับอันตราย