“อาการเท้าบวม” (Edema) ถือเป็นหนึ่งอาการยอดฮิตของที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงบางราย ใช้เท้าเคลื่อนไหวน้อยก็มีโอกาสเกิดปัญหาเท้าบวมได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมไปถึงอาการแผลกดทับเนื่องจากการไม่ค่อยได้ขยับและเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้นแม้ว่าอาการเท้าบวมเมื่อดูภายนอกอาจไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่แท้จริงแล้ว อาการดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของสารพัดโรคร้าย ดังนั้นปัญหาเท้าบวม เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรมองข้าม เท้าบวมเกิดจากอะไร เช็กก่อนเสี่ยง เท้าบวมแบบไหนเรียกว่าอันตราย
เท้าบวม หรือโรคเท้าบวม คืออะไร?
อาการเท้าบวม หรือศัพท์ทางการแพทย์มีชื่อว่า Edema มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มาอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วไปจากปัจจัยต่างๆ เช่น การยืนหรือเดินนานๆ ผลข้างเคียงของยา อาการบวมน้ำ ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ ปัญหาทางสุขภาพต่างๆ และอาจหลายแรงถึงปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน
วิธีสังเกต เท้าบวมปกติ vs. เท้าบวมไม่ปกติ
- อาการเท้าบวมปกติ : มักเกิดจากการสะสมของน้ำในเนื้อเยื่อบริเวณเท้าซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยจากพฤติกรรม เช่น การยืนนานๆ อากาศร้อน การใส่รองเท้าที่คับ การตั้งครรภ์ หรือการบาดเจ็บบริเวณเท้า สังเกตได้ไม่ยากคือมีอาการบวมเพียงไม่มากและบางรายไม่มีอาการปวดหรืออาจปวดเพียงเล็กน้อย สามารถทำให้ยุบลงได้เมื่อยกขาสูง นอนพัก หรือนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- อาการเท้าบวมไม่ปกติ : จะมีสาเหตุมาจากโรคร้ายหรือภาวะทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคลิ่มเลือดอุดตัน การติดเชื้อ มะเร็ง หรือผลข้างเคียงจากยา จุดสังเกตคือมีอาการบวมมาก ยุบลงช้า หรือไม่ยุบลง ในบางรายมีอาการปวด บวม แดง ร้อน คัน หรือเป็นผื่น และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอก
วิธีตรวจอาการเท้าบวม
อาการเท้าบวมอาจสังเกตความผิดปกติได้จากลักษณะอาการบวม แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็อาจสังเกตได้ยาก ดังนั้นจึงควรทดสอบเพื่อตรวจสอบให้ชัดเจนว่าข้อสังเกตุดังกล่าวผู้สังเกตไม่ได้สันนิษฐานไปเอง โดยวิธีทดสอบอาการเท้าบวมสามารถเช็กได้ดังนี้
ขั้นตอนทดสอบอาการเท้าบวม
ขั้นตอนที่ 1 : ใช้นิ้วกดลงบริเวณที่บวม 5-10 วินาที
ขั้นตอนที่ 2 : ค่อยๆ ยกนิ้วออกช้าๆ แล้วสังเกตลักษณะการคืนตัวของผิวหนังบริเวณที่กด
ข้อสังเกตลักษณะการคืนตัว
กรณีเท้าบวมปกติ : ไม่บุ๋มค้าง เป็นเนื้อแข็ง ๆ แน่น ๆ ผิวหนังมีสำคล้ำและหนาขึ้น เกิดมาจากการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง ควรพบแพทย์เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อ
อาการเท้าบวม เกิดจากอะไร? สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้เท้าบวม
ปกติแล้วในกลุ่มผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาเท้าบวมที่เกิดจากระบบเลือด น้ำเหลือง การหมุนเวียนของเหลวในบริเวณเท้านั้นผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการของร่างกาย ที่เสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการใช้ยาและโรคประจำตัว โดยสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเท้าบวม มีดังนี้
1. การยืนหรือนั่งในท่าเดิมนานๆ
เท้าบวมหลายครั้งมักเกิดจากการนั่งนานๆ หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยจนทำให้เกิดภาวะแผลกดทับ เนื่องจากกล้ามเนื้อขาถูกกดทับ ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ของเหลวไปสะสมและคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณเท้า ผู้ดูแลอาจพาลุกเดินหรือขยับเปลี่ยนทานั่งบ่อยๆ เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ในกรณีผู้ป่วยติดเตียงอาจใช้วิธีปรับท่านอน ความสูงของหมอน เบาะรองหลัง หรือหมอนรองเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อถูกกดทับในท่าเดิมๆ
2. การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด
อีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้คนแก่เท้าบวมคือ อาหารรสเค็มที่มีปริมาณโซเดียมที่สูง หากรับประทานในปริมาณมาก ร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น น้ำสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ตามร่างกายทำให้มีอาการบวมได้ง่ายขึ้น ทั้งยังเพิ่มความดันโลหิตซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดของผู้สูงอายุ และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆ อีกด้วย ผู้สูงวัยควรทานอาหารรสอ่อน หรือได้รับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันอาการบวมและโรคต่างๆ
3. ภาวะน้ำหนักเกิน
การมีน้ำหนักเยอะหรือมีภาวะน้ำหนักเกินนั้น เป็นปัญหาที่น่ากังวลไม่แพ้การยืนหรือนั่งในท่าเดิมนานๆ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงต่างๆ ทำให้ผู้สูงอายุต้องแบกรับร่างกายของตัวเองตลอดเวลา และเสี่ยงที่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงจากการลุก ยืน หรือเดินไม่สะดวก ส่งผลต่อระบบเลือด และการหมุนเวียนของเหลวในร่างกายได้น้อยลง จนเกิดการเท้าบวมได้บ่อยกว่าผู้สูงอายุที่น้ำหนักปกติ
4. การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด
เนื่องจากโรคประจำตัว หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ผู้สูงอายุมักต้องทานยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของแพทย์ โดยยาปฏิชีวนะที่ทำให้เกิดอาการเท้าบวมนั้นจะอยู่ในกลุ่มยาลดความดันโลหิต ยาคุมกำเนิด ยาปรับฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือยารักษาโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่เลี่ยงได้ยาก ผู้ดูแลควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อทำการปรับยาหรือให้คำแนะนำในการรับประทานยาเพิ่มเติม
5. สัญญาณบอกโรค
หากสังเกตได้ว่าอาการเท้าบวมนั้นมีลักษณะบวมตึง ไม่มีรอยย่นของผิว เห็นรอยบุ๋มเมื่อกดบริเวณหน้าแข้งแล้วรอยบุ๋มนั้นไม่คืนสภาพนั้น อาจสะท้อนให้เห็นถึงโรคอันตรายได้ โดยโรคที่มีผลทำให้เท้าบวมตึงนั้นคือ โรคหัวใจ โรคไต โรคเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา การติดเชื้ออักเสบ หรือโรคตับ ควรต้องพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคในห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเม็ดเลือด การตรวจค่าไต การตรวจปัสสาวะเอกซเรย์ปอด การตรวจค่าตับ การประเมินหัวใจเพื่อรีบทำการรักษาโดยด่วน
วิธีป้องกันและรักษาอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
ปัญหาคนแก่เท้าบวมที่เกิดจากสาเหตุทางพฤติกรรมนับว่าไม่อันตราย แต่ก็อาจก่อให้เกิดความหงุดหงิดและส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุได้ และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็เสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการปวดเรื้อรังตามมา ดังนั้นควรขยับร่างกายด้วยการ ออกกำลังกาย หรือการลุกเดิน การยืดเส้นสายเพียงเล็กน้อยนั้นมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลือง หลอดเลือดต่างๆ ให้ไหลเวียนได้สะดวกเพื่อป้องกันอาการบวม และหากผู้สูงอายุมีอาการเท้าบวม ผู้ดูแลควรรีบทำการรักษาหรือบรรเทาอาการบวมตามคำแนะนำเหล่านี้
- ยกขาให้สูง : ยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ ประมาณ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง วิธีนี้ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นและลดอาการบวม
- ประคบเย็น : ใช้ผ้าเย็นประคบเท้า 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง วิธีนี้ช่วยลดการอักเสบและอาการบวม
- เคลื่อนไหวร่างกาย : ปรับเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่านอน เพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนของเหลวภายในร่างกาย
- นวด : การนวดเท้าเบาๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด โดยวิธีนวดนั้นควรนวดอย่างเบามือ ไม่ควรกดเส้นเพราะอาจทำให้บาดเจ็บได้
- การใช้เตียงไฟฟ้า : การใช้เตียงไฟฟ้านั้นเป็นการแก้ปัญหาเท้าบวมได้ในระยะยาว เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ขยับตัวง่ายขึ้น และไม่อันตรายเท่าการลุกหรือขยับด้วยตัวเองอีกด้วย
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ : สำหรับอาการเท้าบวมที่เกิดจากโรคและการใช้ยาจะต้องทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ไม่ว่าผู้สูงอายุจะมีอาการเท้าบวมจากสาเหตุอะไร เตียงปรับระดับไฟฟ้า TOPCARES ป้องกันอาการเท้าบวม และช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวก ด้วยปุ่มสั่งการและฟังก์ชั่นที่ทันสมัย ใช้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
Reference
https://ch9airport.com/th/เท้าบวม-บ่งบอกอะไรบ้าง/
https://www.vejthani.com/th/2021/11/เท้าบวม-เกิดจากอะไร/
https://airosmedical.com/are-certain-exercise-types-helpful-or-hurtful-for-swelling-and-edema