อาการมือบวม เป็นอาการที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง โดยมีลักษณะภาวะที่เป็นของเหลวสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณมือในปริมาณมาก เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้จึงทำให้น้ำในร่างกายมีปริมาณมากเกินปกติ ซึ่งส่งผลต่อมือบวมเท้าบวม มือบวมสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การออกกำลังกาย อุบัติเหตุหรือแมลงสัตว์กัดต่อย การทานอาหารที่มีโซเดียมสูง หรือผลข้างเคียงจากอาการป่วยของโรค โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการโรคไตหรือไตเสื่อม อาการมือบวม เป็นภาวะที่สร้างความน่ารำคาญใจ แม้ว่าจะไม่ใช่อาการที่ส่งผลอันตราย แต่ไม่ควรมองข้าม และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
มือบวมเกิดจากอะไร ?
อาการมือบวม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการมือบวมในผู้สูงอายุหรือในผู้ป่วยติดเตียง มีสาเหตุการเกิดหลักจาก 4 ประเภทคือ มือบวมจากพฤติกรรม สภาพอากาศ โรคหรือการเจ็บป่วยต่าง ๆ และอื่น ๆ
1. มือบวมจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงเกิดอาการมือบวมได้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการทานอาหาร ลักษณะการนอน หรือการเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย ก็มีสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดมือบวมได้
- มือบวมจากโซเดียมสูง การทานอาหารที่มีโซเดียมสูงหรืออาหารรสเค็มจัด ส่งผลต่อการเกิดภาวะมือบวมได้ เนื่องจากร่างกายได้รับโซเดียมสูงเกินไปทำให้ไตกำจัดของเหลวที่ร่างกายไม่ต้องการไปยังกระเพาะปัสสาวะได้ยากขึ้น จึงเกิดการสะสมอยู่ภายในอวัยวะ
- มือบวมจากท่านอนที่ไม่เหมาะสม ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีลักษณะการนอนทับมือหรือทิ้งน้ำหนักลงบนมือมากเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดภาวะมือบวมในตอนเช้าได้
มือบวมจากการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกาย หลังการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายสามารถเกิดอาการมือบวมได้เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจปอดและกล้ามเนื้อส่งผลทำให้เกิดอาการมือและเท้าเย็น หลอดเลือดเกิดการขยายตัวจึงเป็นเหตุให้เกิดภาวะมือบวม
2. มือบวมจากสภาพอากาศร้อน
หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าสภาพอากาศร้อนที่มีอุณหภูมิสูง สามารถส่งผลต่อการเกิดภาวะมือบวมได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงเกิดการขับเหงื่อออกมาบริเวณผิวหนัง ได้ไม่เต็มที่หรือไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ จะทำให้เกิดของเหลวค้างอยู่ใต้ผิวหนังและส่งผลต่อการเกิดภาวะมือบวม
3. มือบวมจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ
ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมือบวมจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากตัวโรคนั้น ๆ
- มือบวมจากภาวะบวมน้ำเหลือง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ เมื่อเกิดการคลั่งของน้ำเหลืองใต้ผิวหนัง สามารถส่งผลให้เกิดภาวะมือบวมได้
- มือบวมจากโรคไต ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ป่วยเป็นโรคไต เมื่อไตทำงานผิดปกติในการขจัดของเสียและน้ำส่วนเกินของร่างกาย ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดภาวะมือบวมเท้าบวม
- มือบวมจากข้ออักเสบ ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะข้ออักเสบของข้อต่อ เช่น ข้อเสื่อมโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการมือบวมหรือนิ้วบวมในตอนเช้า
- มือบวมจากโรคประสาทมือชา สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคในกลุ่มประสาทมือชา หากเกิดการนอนกดทับขนาดนอนหลับ สามารถส่งผลให้เกิดภาวะอาการมือบวมได้
4. มือบวมจากอื่น ๆ
- มือบวมจากครรภ์เป็นพิษ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ สามารถเสี่ยงต่อภาวะมือบวมเท้าบวมได้เนื่องจากร่างกายกักเก็บของเหลวและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
อาการมือบวม แบบไหนที่ผิดปกติ ?
อาการมือบวม เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุในข้างต้น ซึ่งระดับความรุนแรงจึงแตกต่างกัน อาการมือบวมโดยทั่วไปจะมีลักษณะ ดังนี้
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีลักษณะอาการบวม แดง และแตกลายบริเวณผิวหนัง
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีลักษณะอาการบริเวณผิวหนังมีความมันวาว เมื่อกดลงไปแล้วเกิดรอยลึกบุ๋ม
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีความถี่ในการเกิดนิ้วบวมบ่อยครั้ง
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีลักษณะอาการนิ้วบวมช้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุ
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีอาการหายใจไม่สะดวก เจ็บหน้าอกร่วมกับมีอาการบวมที่ขา และระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นไม่ลดลง
อันตรายจากภาวะมือบวม
ภาวะมือบวมเป็นภาวะอาการที่มีระดับทั่วไปและระดับที่ส่งผลเสียอันตรายต่อชีวิตของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจไม่สะดวก มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับมีอาการบวมที่ขา ควรไปพบแพทย์โดยทันทีเนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของน้ำท่วมปอดซึ่งเป็นภาวะที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
ข้อควรระวังที่เกิดจากมือบวมในผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
มือบวม เป็นภาวะที่ปัญหาและอาการที่สร้างความน่ารำคาญใจและความเสี่ยงให้แก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรมีความรู้และความเข้าใจถึงข้อควรระวังที่อาจเกิดขึ้น จากภาวะมือบวมในผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
1. ปัญหาและอาการที่น่ารำคาญจากมือบวมในผู้สูงอายุ
อาการมือบวมเท้าบวม เป็นภาวะที่สร้างความรำคาญใจและความไม่สบายตัวให้แก่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างมาก โดยเบื้องต้นผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการมือบวมได้ เช่น ให้ลองใช้มือกดที่แขน ขา หรือเท้า โดยกดแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 วินาทีแล้วปล่อย หากเนื้อตรงส่วนนั้นไม่คืนรูปหรือมีลักษณะบุ๋มอยู่อาการนี้จะแสดงว่าเป็นอาการบวมน้ำ จึงควรพาผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการรักษามือบวมอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงด้วยมือบวม
อาการมือบวม เท้าบวม เป็นอีกหนึ่งปัญหาและความเสี่ยงที่ผู้ป่วยติดเตียง มักพบเจอเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือสามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อเกิดอาการมือบวมเท้าบวมหากอยู่ในบริบทบทเดิมเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดแผลกดทับ ในส่วนของข้อควรระวังของผู้ป่วยติดเตียง คือ ระวังกล้ามเนื้อฟ่อ และจุดที่ให้สารน้ำ หากมีผิวปวดบวม สีแดงร้อนหรือมีไข้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ
วิธีการป้องกันและรักษาอาการมือบวม
หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าอาการมือบวมเกิดจากอะไรและมีสาเหตุอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงซึ่งแน่นอนว่าเป็นภาวะที่ส่งผลทำให้เกิดความกังวล หรือความไม่สบายตัวและอาจส่งผลเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย หากรู้วิธีการรักษามือบวมผู้สูงอายุ อาจช่วยลดความกังวลใจได้
1. พบแพทย์เพื่อรักษามือบวม
การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมคือการที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้พบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
2. ขยับบริเวณมือบวม
วิธีนี้เหมาะกับการดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นโดยการขยับมือข้างที่บวมหรือเพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือเพื่อช่วยให้ร่างกายนำของเหลวส่วนเกินกลับสู่หัวใจ
3. นวดมือเบาๆ เป็นประจำ
การนวดมือผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นประจำช่วยกระจายของเหลวส่วนอื่นออกจากบริเวณที่บวมได้
4. รักษาความชุ่มชื้นบริเวณมือบวม
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมือบวมควรรักษาความสะอาดและความชุ่มชื้นในบริเวณดังกล่าว การระมัดระวังการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุต่างๆ อาจทำให้บริเวณมือบวมเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
5. งดทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอาการมือบวม หากทานอาหารที่มีโซเดียมสูงจะช่วยเพิ่มการคั่งน้ำและทำให้อาการบวมเพิ่มมากขึ้น
6. หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่สม่ำเสมอเนื่องจากการนอนติดเตียง เป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการมือบนเท้าบวมในผู้ป่วยได้ สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่เคลื่อนไหวตัวเองได้ยากผู้ดูแลอาจจะมองหาทางเลือกหรือตัวช่วย เช่นเตียง ช่วยเคลื่อนไหวสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย
สำหรับผู้ดูแลท่านไหนที่กำลังมองหา เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุและผู้ป่วย ขอแนะนำผลิตภัณฑ์เตียงไฟฟ้าปรับระดับจาก TOPCARES ตอบโจทย์ผู้ดูแลให้มีความสะดวกสบาย ตอบโจทย์ผู้ป่วยไม่ว่าจะนอนหรือลุกนั่งก็สามารถปรับระดับได้ตามความต้องการ
Ref.
https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=1453’