ค่าความดันคืออะไร แต่ละช่วงอายุค่าควรเป็นเท่าไหร่

พยาบาลกำลังวัดความดันผู้สูงอายุ

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าความดันปกติเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสมกับวัย มีวิธีการอ่านค่าอย่างไร ความดันสูงเป็นอันตรายแค่ไหน ความดันต่ำจะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน แต่ก่อนหน้านั้นเราไปดูก่อนดีกว่าว่าค่าความดันโลหิตคืออะไร อ่านค่าความดันอย่างไร และการวัดค่าดวามดันผู้สูงอายุหรือของตัวเองแต่ละครั้งไม่เท่ากัน เป็นเพราะอะไร มาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ค่าความดันโลหิตคืออะไร มีค่าอะไรบ้าง?

ค่าความดันโลหิตคือ แรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจสูบฉีดไปทั่วร่างกาย มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) และประกอบด้วย 2 ค่า ได้แก่ ซิสโตลิก (ความดันระหว่างการเต้นของหัวใจ) และไดแอสโตลิก (ความดันระหว่างจังหวะ) การรักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมในผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อย่างโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และปัญหาไตได้ การติดตามและควบคุมความดันผู้สูงอายุด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการใช้ยาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

วิธีอ่านค่าความดันโลหิต ด้วยตัวเลข 3 แถว

ค่าความดันผู้สูงอายุ

หลายคนอาจจะเคยวัดความดันผู้สูงอายุหรือของตัวเอง แล้วพบว่ามีตัวเลข 3 แถวปรากฎขึ้นอยู่บนหน้าจอเครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล ซึ่งตัวเลข 3 แถวนี้คือค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบโลหิตแล้วหัวใจของเรา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. SYS คือค่าความดันตัวบน ซึ่งหมายถึง ความดันขณะหัวใจบีบตัว
  2. DIA คือค่าความดันตัวล่าง ซึ่งหมายถึง ความดันขณะหัวใจคลายตัว
  3. PUL คือตัวเลขที่อยู่ล่างสุด ซึ่งหมายถึง ค่าชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ

วัดค่าความดันแต่ละครั้งไม่เท่ากัน เป็นเพราะอะไร?

การที่วัดความดันแล้วค่าที่ได้แต่ละครั้งออกมาไม่เท่ากันถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัดแขนคนละข้าง เพิ่งเดินทางมาแล้วยังไม่ได้นั่งพัก มีอาการตื่นเต้น หรืออาจเป็นเพราะเครื่องวัดความดันมีปัญหา ซึ่งค่าที่ได้ควรใกล้เคียงกันถึงจะเรียกว่าปกติ หรือถ้าให้ดีควรวัดหลาย ๆ ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยที่ได้อีกที ก็จะถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ แต่หลายครั้งการวัดความดันเองที่บ้านมักจะได้ค่าที่น้อยกว่าไปวัดที่โรงพยาบาล นั่นก็อาจเป็นเพราะเรามีการเดินทางหรือกำลังตื่นเต้นที่พบคุณหมอ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นควรยึดค่าที่บ้านเป็นหลักค่ะ

ค่าความดันปกติเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสมกับแต่ละวัย

แพทย์กำลังหาว่าความดันปกติเท่าไหร่
  • ความดันปกติเท่าไหร่ เด็กทารก: อยู่ที่ประมาณ 60-90/20-60 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ เด็กอายุ 3-6 ปี: อยู่ที่ประมาณ 80-110/55-75 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ เด็กอายุ 7-17 ปี: อยู่ที่ประมาณ 90-120/60-80 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ ผู้หญิง: อยู่ที่ประมาณ 120/80 มม.ปรอท และไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ ผู้ชาย: อยู่ที่ประมาณ 120/80 มม.ปรอท และไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ ผู้สูงอายุ: ไม่ควรเกิน 160/90 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 20: อยู่ที่ประมาณ 120-122/79-81 มม.ปรอท
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 30: อยู่ที่ประมาณ 121-123/80-82 
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 40: อยู่ที่ประมาณ 122-125/81-83
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 50: อยู่ที่ประมาณ 123-126/82-84 
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 60: อยู่ที่ประมาณ 124-127/83-85
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 70: อยู่ที่ประมาณ 125-128/84-86
  • ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ 80: อยู่ที่ประมาณ 126-129/85-87

โดยทั่วไปแนะนำให้รักษาความดันให้ใกล้เคียงกับช่วงปกติ แต่อาจมีเงื่อนไขและข้อควรพิจารณาด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือค่าความดันโลหิตเหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป และอาจมีความแตกต่างกันได้ แนะนำให้ติดตามและปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าความดันโลหิตของคุณอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่มอายุ

ภัยและโรคร้ายจากความดัน

หากค่าความดันที่วัดได้ผิดปกติ อาจเกิดมาจากการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรับประทานอาหารที่เค็มจัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะขาดน้ำ การขาดสารอาหาร การสูญเสียเลือด การติดเชื้อ หรือการรับประทานยาบางชนิด ซึ่งเราทุกคนควรได้รับการตรวจเลือดและสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตผิดปกติ และรักษาโรคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

อาการที่ต้องระวัง

หากมีอาการเหล่านี้ อาจจะเป็นเพราะความดันผิดปกติก็ได้ ซึ่งอาการดังกล่าวที่ต้องระวัง ได้แก่

  • ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณด้านหลังศีรษะ
  • มีปัญหาการมองเห็น หรือมองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการเจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม
  • มีความเหนื่อยล้าและความอ่อนแออย่างต่อเนื่อง

วิธีป้องกันภาวะความดันผิดปกติ

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ: รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และโปรตีนไร้ไขมัน ลดปริมาณโซเดียม (เกลือ)
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว จ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม: การมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง การลดน้ำหนักแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์: สำหรับผู้ใหญ่ ผู้หญิงควรดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว และ 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย
  • เลิกสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ทำลายหลอดเลือดและอาจเพิ่มความดันโลหิตได้ การเลิกสูบบุหรี่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย
  • ลดความเครียด: ฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ หรืองานอดิเรกที่ทำให้เกิดความสุขและผ่อนคลาย
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ: ติดตามความดันโลหิตของคุณอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพกับผู้ให้บริการทางการแพทย์เป็นประจำ

โปรดทราบว่าคำแนะนำเหล่านี้เป็นแนวทางทั่วไป และคำแนะนำของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล โดยพิจารณาจากสภาวะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของคุณ หากคุณมีอาการความดันโลหิตผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

Reference Source :

https://allwellhealthcare.com/normal-blood-pressure-range/

https://www.cherseryhome.com/content/5548/วิธีอ่านค่าความดันโลหิตในผู้สูงอายุ-รพผู้สูงอายุ-chersery-home

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ความดันต่ำ-ความดันสูง