ความดันต่ำคืออะไร อาการเป็นแบบไหน และรักษาได้อย่างไร

หมออ่านค่าความดัน 3 ตัว ความดันต่ำ

หลายคนอาจกำลังเข้าใจผิดว่าภาวะความดันต่ำดีกว่าภาวะความดันโลหิตสูง เพราะไม่เป็นอันตราย แต่ความจริงแล้วคนที่อยู่ในภาวะความดันต่ำก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ตอนนี้อาจจะเริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่า ความดันต่ำเท่าไหร่อันตราย ภาวะความดันต่ำสาเหตุมาจากอะไร อาการเป็นแบบไหน มีวิธีการรักษาแบบใด ความดันต่ำกินอะไรดี เราจะพาคุณไปไขข้อสงสัยพร้อม ๆ กันค่ะ

ความดันต่ำคืออะไร ความดันต่ำเท่าไหร่อันตราย

วามดันต่ำคือภาวะที่มีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มม.ปรอท ในผู้ใหญ่ และ 100/70 มม.ปรอท ในผู้สูงอายุ ซึ่งจะรู้ได้โดยการอ่านค่าความดัน 3 ตัว ความดันต่ำ ส่วนตัวล่างจะเป็นค่าชีพจร ซึ่งมักจะพบได้ในผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง หรือเคยมีประวัติเป็นโรคความดันต่ำมาก่อน หากพบว่าค่าความดันโลหิตต่ำเกินกว่าเกณฑ์กำหนด ให้รีบนำตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพราะความดันต่ำอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องคอยหมั่นวัดค่าความดันอยู่เป็นประจำ

ความดันต่ำอาการเป็นแบบไหน

ความดันต่ำอาการจะมีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวพันกับสาเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการของคนที่มีภาวะความดันต่ำ มักจะได้แก่

  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หิวน้ำ ปัสสาวะน้อย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ตัวเย็น ผิวซีด
  • ตาลาย ตาพร่ามัว
  • สับสน ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • หมดสติ ชัก

ความดันต่ำสาเหตุเกิดจากอะไร

ความดันต่ำเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจมาจากภาวะของร่างกายที่ผิดปกติก็ได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น: เมื่อคนเราอายุมากขึ้น หลอดเลือดมีแนวโน้มที่จะยืดหยุ่นน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ความดันต่ำลงได้
  2. การตั้งครรภ์: ในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายต้องนำเลือดไปเลี้ยงทารก ปริมาณของเลือดจึงลดลง ความดันจึงต่ำลง โดยเฉพาะในช่วง 2 ไตรมาสแรก 
  3. การขาดน้ำ: การดื่มน้ำไม่เพียงพอจะทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง ทำให้หัวใจบีบตัวน้อยลง ส่งผลให้ความดันต่ำลงนั่นเอง
  4. การขาดสารอาหาร: การขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามินซี วิตามินบี 12 โฟเลต โปรตีน อาจส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง จึงเกิดการคลายตัวมากเกินไป และนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำได้
  5. ขาดการออกกำลังกาย: การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นระยะเวลานานๆ ก็ส่งผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลงได้เช่นกัน
  6. การเปลี่ยนท่าทางกะทันหัน: การเปลี่ยนจากท่านอนเป็นนั่ง หรือท่านั่งเป็นยืนโดยกะทันหัน อาจทำให้ความดันต่ำได้
  7. ภาวะโลหิตจาง: หรือการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก จะส่งผลให้ปริมาณความเข้มข้นของเลือดลดลง ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
  8. โรคหัวใจ: เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นช้า มีปัญหาลิ้นหัวใจ หรือหัวใจวาย จะทำให้การบีบตัวของหัวใจผิดปกติ แรงดันในหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้ความดันต่ำลง
  9. โรคภูมิแพ้: โรคภูมิแพ้อาจทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดผิดปกติ และทำให้ความดันลดลง
  10. โรคต่อมไร้ท่อ: เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมหมวกไตไม่เพียงพอหรือโรคแอดดิสัน ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างและควมคุมฮอร์โมนในร่างกาย รวมทั้งหัวใจ หลอดเลือด และเกลือแร่ซึ่งเป็นตัวอุ้มน้ำหลอดเลือด โดยจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด 
  11. การติดเชื้อรุนแรง: การติดเชื้อรุนแรงในร่างกาย อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตที่เรียกว่าภาวะช็อกจากภาวะติดเชื้อ ซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากกว่าปกติ
  12. ผลข้างเคียงจากยา: ยาบางชนิดมีผลทำให้ความดันต่ำลง เช่น ยาลดความดัน ยาขับน้ำ ยาจิตเวชบางประเภท เป็นต้น
  13. สิ่งกระตุ้นจากภายนอก: เช่น การหยุดพักทันทีหลังจากออกกำลังกาย การอาบน้ำอุ่นจัด อากาศที่ร้อนอบอ้าวเกินไป อยู่ในภาวะกลัวหรือตกใจ เกิดการบาดเจ็บ เป็นต้น จะส่งผลทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ความดันจึงต่ำลง

การสังเกตและวินิจฉัยภาวะความดันต่ำเบื้องต้น

ใครที่สงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจจะมีภาวะความดันต่ำ นอกจากการวัดความดันด้วยตนเองแล้ว อาจจะต้องมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด ว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคความดันต่ำหรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจมีหลายวิธี ได้แก่

  • จากการตรวจเลือด: เพื่อหาสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำและตรวจสุขภาพโดยรวมอย่างละเอียด
  • จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ: เพื่อค้นหาสาเหตุเกี่ยวกับหัวใจที่อาจทำให้เป็นภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • จากการตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ: เพื่อตรวจดูความดันในขณะที่เปลี่ยนตำแหน่งและท่าทาง
ความดันต่ำเท่าไหร่อันตราย

ความดันต่ำรักษาแบบไหน มีวิธีแก้ยังไง

ความดันต่ำวิธีแก้และวิธีรักษามีหลากหลายวิธี ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการและสาเหตุของความดันโลหิตต่ำของคุณ

  • เพิ่มปริมาณเกลือในมื้ออาหาร: การเติมเกลือเล็กน้อยลงในอาหารช่วยเพิ่มความดันโลหิตได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนหากคุณมีโรคประจำตัว
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น: เพราะการขาดน้ำอาจทำให้ความดันต่ำได้ จึงควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ: การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ ดังนั้นจึงควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ และรับประทานบ่อย ๆ แทนจะดีกว่า
  • สวมถุงน่องชนิดพิเศษ: เป็นถุงน่องที่ลดการรวมตัวของเส้นเลือดที่ขา เรียกว่า compression stockings หรือถุงน่องป้องกันลิ่มเลือด

ความดันต่ำกินอะไรดี

เวียนหัว ความดันต่ำ กินอะไรดี ในบทความนี้จะพาคุณไปพบกับอาหารต่าง ๆ ที่ช่วยลดภาวะความดันต่ำได้ และยังทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นอีกด้วย หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่

  • เนื้อสัตว์: ช่วยลดอาการขาดเลือดอย่างฉับพลันได้ หาได้จากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ หอยต่าง ๆ เป็นต้น
  • ผลไม้อบแห้ง: มีโพสแทสเซียมมาก ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย หาได้จากลูกเกด ลูกพรุน อินทผาลัม กล้วยตาก เป็นต้น
  • ธัญพืช: ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น หาได้จากข้าวกล้อง ข้าวโพด ลูกเดือย มันฝรั่ง ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
  • วิตามินซี: ช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะจากความดันต่ำได้ หาได้จากผลไม้ต่าง ๆ เช่น ส้ม มะม่วง สตรอเบอรี่ เป็นต้น
  • วิตามินอี: ช่วยบรรเทาอาการความดันต่ำได้ หาได้จากผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น กล้วย สัปปะรด มะม่วงสุก มะละกอสุก เป็นต้น
  • ชา: ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย

หากคนที่คุณรักหรือตัวคุณเองมีภาวะความดันต่ำ โปรดอย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และหมั่นดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และเวลาเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถค่อย ๆ เปลี่ยนช้า ๆ อย่าเร็วเกินไป เพราะอาจจะหน้ามือและเป็นลมได้นั่นเองค่ะ

Reference Source :

https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/hypotension, https://www.sikarin.com/health/hypotension

https://hdmall.co.th/c/food-for-low-blood-pressure