อาหารผู้ป่วยติดเตียงคืออาหารแบบไหน มีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลเสิร์ฟอาหารผู้ป่วยติดเตียง

อาหารคนป่วยติดเตียงเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับคนป่วย หรือแม้แต่ผู้สูงอายุหลายคน ก็ควรรับประทานอาหารแบบนี้ เพราะกินง่ายกว่าอาหารปกติ และบางคนอาจจะฟันไม่ค่อยดีแล้ว จึงต้องรับประทานเป็นอาหารเหลว อาหารปั่น หรืออาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายมีแรงต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนั้นผู้สูงอายุบางคนยังกินยาก ทำให้ผู้ดูแลต้องใส่ใจและพิถีพิถันเป็นพิเศษ อาหารคนป่วยจึงตอบโจทย์มากกว่า

อาหารผู้ป่วยติดเตียงคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?

อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงคือ อาหารอ่อนสำหรับคนป่วยที่มีการจัดเตรียมโดยเฉพาะ เพื่อให้มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นอกจากนั้นยังต้องเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่าย เคี้ยวง่าย กลืนง่าย เพื่อป้องกันการสำลักหรือการติดคอ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการกลืนลำบาก หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาหารสำหรับคนป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยเพิ่มพลังงานและฟื้นฟูร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อต้านทานเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะติดเชื้อได้ ผู้ที่เตรียมอาหารผู้ป่วยจึงต้องให้ความสำคัญและใส่ใจในทุกขั้นตอนของการเตรียมอาหาร ตั้งแต่การเลือกชนิดอาหาร การประกอบอาหาร การจัดเสิร์ฟ

ประเภทอาหารผู้ป่วยติดเตียง

อาหารผู้ป่วยติดเตียงมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละคนจะเหมาะสมกับอาหารประเภทไหน ก็ขึ้นอยู่กับร่างกาย อาการป่วย และความต้องการสารอาหารของแต่ละคน ซึ่งอาหารคนป่วยเหล่านี้สามารถใช้กับผู้สูงอายุได้เช่นกัน โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. อาหารเหลว

อาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและอาหารเหลวสำหรับผู้สูงอายุนั้น จะเป็นอาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยที่กินง่าย ย่อยง่าย สามารถกลืนหรือดูดได้เลย เช่น นม น้ำผลไม้สด น้ำต้มผัก น้ำสมุนไพร น้ำซุป ซึ่งอาหารเหลวคนป่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อย ๆ คือ อาหารเหลวแบบใส และอาหารเหลวแบบข้น ซึ่งแบบข้นจะมีเนื้อสัมผัสที่มากกว่าแบบใส

2. อาหารปั่น

อาหารปั่นผู้ป่วยติดเตียงและอาหารปั่นผู้สูงอายุนั้น จะเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงให้สุกแล้ว นำมาปั่นให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีทั้งข้าว เนื้อสัตว์ และผักต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน ลดโอกาสการสำลักหรือติดคอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน หรือกลืนได้ลำบาก

3. อาหารเสริม

อาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียงเป็นอาหารบำรุงคนป่วย ใช้สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหาร ต้องการพลังงาน ฟื้นฟูร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หรือต้องการสารอาหารบางชนิดมากกว่าปกติ เช่น โปรตีน ไฟเบอร์ ไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงควรมีอะไรบ้าง?

อาหารผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ดูแลหลายคนอาจกำลังมองหาสูตรอาหารผู้ป่วยติดเตียงหรือเมนูอาหารผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งมีมากมายหลากหลายและไม่ตายตัว แต่ที่สำคัญต้องเน้นให้มีประโยชน์ โภชนาการสูง และต้องครบ 5 หมู่ ซึ่งเราจะยกตัวอย่างอาหารต่าง ๆ และอธิบายคุณประโยชน์ ดังต่อไปนี้

หมู่ 1 โปรตีน

โปรตีนจะช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ เต้าหู้ ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

หมู่ 2 คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ป้องกันอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท น้ำตาลแดง

หมู่ 3 ไขมัน

ไขมันจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกัน ซึ่งควรเลือกไขมันดีอย่างไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีอยู่ในเนื้อปลา นมถั่วเหลือง ผักใบเขียว และผลไม้บางประเภท

หมู่ 4 วิตามิน

วิตามินเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยและผู้สูงอายุให้แข็งแรง ช่วยบำรุงร่างกาย อาหารที่มีวิตามินสูงจะได้แก่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง กล้วย ส้ม ฝรั่ง แอปเปิ้ล กีวี่ เป็นต้น

หมู่ 5 แร่ธาตุ

แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ดีต่อร่างกายผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เพราะช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุจะได้แก่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง มะละกอ แครอท ตำลึง แตงโม แอปเปิ้ล เป็นต้น

อาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

อาหารคนป่วยห้ามรับประทาน

แม้ว่าผู้ป่วยติดเตียงจะรับประทานอาหารได้หลากหลาย แต่ก็มีอาหารที่ผู้ป่วยห้ามรับประทานอยู่เช่นกัน ได้แก่

  • อาหารแปรรูป : เพราะเป็นอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งต่าง ๆ ใส่สารกันบูด และมีส่วนผสมเทียมสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้
  • ขนมหวานที่มีน้ำตาลสูง : เพราะหากรับประทานอาหารเหล่านี้มากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
  • อาหารโซเดียมสูง : เพราะปริมาณโซเดียมที่มากเกินไป ส่งผลต่อการกักเก็บของเหลว และทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • อาหารทอดที่มีไขมันสูง : โดยเฉพาะเนื้อแดงที่ผ่านการทอด เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และเป็นผลเสียแก่ร่างกาย
  • น้ำอัดลม : เพราะอาจทำให้ท้องอืด แนะนำให้เปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์แทน เช่น น้ำสมุนไพร น้ำผลไม้หวานน้อย เป็นต้น
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน : ได้แก่ ชา กาแฟต่าง ๆ เพราะหากได้รับปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไป อาจจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : หากรับประทานร่วมกับยาจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงหรือรุนแรงขึ้นได้ แต่การดื่มแอลกอฮอล์อย่างเดียวก็ไม่ดีต่อร่างกายเช่นกัน

วิธีให้อาหารผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ดูแลถือถาดอาหารสำหรับผู้ปวยติดเตียง

วิธีให้อาหารผู้ป่วยติดเตียงแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การให้อาหารทางสายยาง และการให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ให้อาหารทางสายยาง

เป็นการให้อาหารผู้ป่วยผ่านทางสายยางที่เชื่อมต่อกับทางเดินอาหารโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยการให้อาหารทางสายยางมี 2 แบบ คือ การให้อาหารทางสายยางผ่านจมูก และผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ในการให้อาหารทางสายยาง และใช้ความระมัดระวังในการเตรียมอาหารและให้อาหารเป็นพิเศษ ที่สำคัญคือต้องใส่ใจในความสะอาดและความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย

2. ให้ผู้ป่วยรับประทานเอง

เป็นการให้อาหารผู้ป่วยแบบปกติ คือให้รับประทานด้วยตนเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้น ซึ่งผู้ดูแลก็ต้องควรอำนวยความสะดวกให้ด้วย โดยอาจจะต้องช่วยป้อนอาหารผู้ป่วย ซึ่งจะต้องเป็นอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวที่เคี้ยวง่ายหรือกลืนง่าย เวลาป้อนจะต้องให้ผู้ป่วยนั่งตัวให้ตรงมากที่สุด และหลังจากผู้ป่วยรับประทานอาหารเสร็จต้องนั่งย่อยต่อเป็นเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

ข้อควรระวังในการให้อาหารผู้ป่วยติดเตียง

  • ระวังไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารคำใหญ่เกินไป เพราะอาจจะสำลักอาหารหรือติดคอได้
  • ระวังไม่ให้อาหารผู้ป่วยในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะผู้ป่วยอาจอาเจียนออกมา และไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม
  • ขณะผู้ป่วยรับประทานอาหาร ควรจัดให้อยู่ในท่านั่งหลังตรงหรือให้ศีรษะอยู่สูงจากพื้นเตียงอย่างน้อย 45 องศา เพื่อป้องกันการสำลัก และทำให้กลืนได้ง่าย
  • หากให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง ต้องระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดเป็นพิเศษ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ผู้ดูแลต้องทราบว่าผู้ป่วยมีประวัติของการแพ้อาหารหรือไม่ แพ้อะไรบ้าง และต้องไม่จัดอาหารดังกล่าวให้ผู้ป่วยรับประทานโดยเด็ดขาด
  • ห้ามให้อาหารผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด

หากผู้ดูแลคัดสรรและจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเป็นอย่างดี ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังย่อยง่าย ดูดซึมได้เร็ว ได้รับสารอาหารเพียงพอ ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ แต่หากกลัวว่าขณะผู้ป่วยรับประทานจะเกิดอาการสำลักหรือติดคอ ก็ควรหาตัวช่วยในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเตียงไฟฟ้าที่สามารถปรับระดับความสูงได้ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลได้

หากคุณยังไม่รู้ว่าจะเลือกเตียงไฟฟ้าของแบรนด์ไหนดี เราขอแนะนำเตียงไฟฟ้าปรับระดับจาก TOPCARES ที่สามารถปรับระดับได้ด้วยรีโมทคอนโทรลไร้สาย สามารถรับน้ำหนักได้มาก มีการรับประกันสินค้า ของดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน การันตีจากผู้ใช้จริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณและคนที่คุณรักให้ดียิ่งขึ้น

Reference Source: https://rakmor.com/bedridden-food/, https://modernformhealthcare.co.th/food-for-bedridden-patient/